<< หน้าแรก
สาระน่ารู้


  108 เทคนิค photoshop (ตอนที่ 1)


เชื่อแน่เลยว่ามีหลายท่านในที่นี้ ที่ชอบการถ่ายภาพเป็นชีวิต จิตใจ และบางท่านก็อาจจะมีความเพลิดเพลินไปกับการตกแต่งภาพที่ได้มาจากการถ่าย ด้วยมือของตัวเองด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ปัจจุบันมีหลายโปรแกรมให้เลือกสรร ซึ่ง สามารถอำนวยความสะดวกในการตกแต่งภาพเพียงปลายนิ้วสัมผัสและบวกกับเพียงมี จินตนาการอีกนิดหน่อยเท่านั้น โอกาสนี้ศูนย์การเรียนรู้ขอนำเสนอเคล็ดลับง่าย ๆ ในการใช้โปรแกรม Photoshop มาฝากกัน

1. Crop
ภาพถ่ายของคุณมักจะวางตำแหน่งของจุดเด่นไว้กลางภาพ บางครั้งก็ถ่ายภาพเอียง แก้ไขได้ง่ายๆ เพียงเลือกเครื่องมือตัดส่วนภาพ (crop tool) หรือกดปุ่ม C ที่คีย์บอร์ด แล้วลากเส้นกรอบที่ภาพเพื่อกำหนดพื้นที่ใหม่ คลิ๊กเม้าท์นอกพื้นที่ภาพแล้วลากเม้าท์ไปทางซ้ายหรือ ขวาเพื่อปรับหมุนภาพ จากนั้นกดปุ่ม Enter (Return)

Attached Images



2. Zoom
คุณสามารถซูมขยายภาพขนาด 100% เพื่อตรวจสอบความคมชัดได้อย่างรวดเร็ว เพียงคลิ๊กสองครั้งที่เครื่องมือซูม (zoom tool) หรือกดปุ่มคีย์บอร์ด Alt/Opt + Ctrl/Cmd + 0 พร้อมกันก็ได้ หากต้องการชมภาพเต็มจอมอนิเตอร์ให้กดปุ่ม Ctrl/Cmd + 0 หรือย่อ/ขยายภาพโดยกดปุ่ม Ctrl/Cmd พร้อมกับปุ่ม - หรือ +

Attached Images



3. Layers
หากภาพที่กำลังทำงานอยู่นั้นมีเลเยอร์อยู่จำนวนมาก คุณสามารถค้นหาเลเยอร์ที่ต้องการเพียงชี้เม้าท์ไปที่ ภาพแล้วคลิ๊กเม้าท์ขวา (พีซี) หรือกดปุ่ม Control (แมค) จะปรากฏรายชื่อเลเยอร์ที่เม้าท์ชี้อยู่

Attached Images



4. Photomerge
คุณสามารถสร้างภาพแบบพาโนรามาได้ด้วยกล้องที่มีอยู่ เพียงถ่ายภาพเป็นช่วงๆ กี่ภาพก็ได้ แต่ละภาพให้มีส่วนที่เหมือนกันประมาณ 1 ใน 4 แล้วนำมารวมกันโดยเลือกเมนู File > Automate > Photomerge จากนั้นเลือก ไฟล์ภาพที่ถ่ายมาแล้วเพื่อรวมเข้าด้วยกัน จะปรากฏหน้าต่างแสดงภาพพรีวิวซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งของภาพได้เพื่อให้ต่อภาพได้สนิทและแนบเนียน กรณีที่ภาพต่อไม่สนิท เนื่องจากเพอสเปคทีฟที่บิดเบือน ให้คลิ๊กเลือก Perspective และ เลือก Keep as Layers หากต้องการรักษา ภาพแต่ละภาพเอาไว้ในรูปแบบของเลเยอร์

Attached Images









5. History Log
หากจำไม่ได้ว่างานที่เคยทำไปแล้วมีการปรับตั้งอะไรบ้ าง คุณ สามารถบันทึกขั้นตอนต่างๆ ในรูปแบบของตัวอักษรได้โดยเลือกเมนู Preferences แล้วคลิ๊กที่ ช่อง History Log และ Both จากนั้นคลิ๊กที่ Choose... เพื่อกำหนดตำแหน่งที่ใช้เก็บไฟล์

Attached Images





6. Grid
การจัดองค์ประกอบภาพคือสิ่งสำคั*อย่างหนึ่งที่ทำให้เ ราได้ภาพถ่ายที่สวยงาม หลักการจัดองค์ประกอบขั้นพื้นฐานที่นักถ่ายภาพทุกคนท ราบดีนั่นคือ กฏสามส่วน โดยการแบ่งภาพออกเป็นเก้าช่อง ตำแหน่งที่เป็นจุดตัดของเส้นทั้ง 4 จุดคือตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการวางตำแหน่งของจุดสน ใจ อย่างไรก็ตามบ่อยครั้งที่เราลืมหรือวางจุดเด่นในภาพไ ด้ไม่ดีพอ สามารถตัดส่วนภาพ (ตามข้อ 1) โดยสร้างเส้นตาราง (Grid) ขึ้นมาเพื่อช่วยให้จัดองค์ประกอบภาพได้ง่ายขึ้น โดยเส้นตารางนี้จะไม่แสดงเมื่อนำภาพไปพิมพ์หรือใช้งา นอื่นๆ ให้กำหนดค่า Gridline ที่ 33% และ Subdivision ที่ 1 จากนั้นเลือกเมนู View > Show > Grid จะได้เส้นตารางปรากฏในภาพ

Attached Images









ข้อมูลจาก.. กลุ่มงานโสตทัศนูปกรณ์





วันที่  : 10 ก.พ. 2552
เวลา : 03:09:39
 
 
Copyright ©2008,Learning Centre : LC,Prince of Songkla University, Phuket Campus .