มหาวิทยาลัยได้เริ่มโครงการขยายการศึกษามายังจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ ปี 2533 โดยเริ่มตั้งแต่การจัดตั้งคณะทำงานศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คณะทำงานเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีศักยภาพด้านต่าง ๆ สูง เหมาะสมที่จะจัดตั้งสถานศึกษาระดับสูงรองรับการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม กอปรกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีเอง โดยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเอกชน ได้ให้ความสนับสนุนอย่างจริงจัง โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีจึงพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจสรุปลำดับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาได้ดังนี้ |
|
1. มหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการขยายการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ตลอดจนคณะทำงานด้านวิชาการ ด้านการจัดหาที่ดิน และคณะกรรมการจัดหาทุน |
|
2. สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติในหลักการให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขยายงานไปจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2533 |
|
3. จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้อนุมัติให้ใช้อาคารสโมสรจังหวัดสุราษฎร์ธานี บริเวณศาลาประชาคม เป็นสำนักงานชั่วคราวของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2533 |
|
4. เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรรุ่นแรก โดยใช้หลักสูตรวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว มีนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 40 คน และได้เปิดทำการเรียน เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2533 |
|
5. ทบวงมหาวิทยาลัย พิจารณาเห็นชอบให้จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปีงบประมาณ 2536 ตามหนังสือ ที่ ทม 0204/25300 ลงวันที่ 19 กันยายน 2533 |
|
6. รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณ เพื่อการขยายงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปีงบประมาณ 2534 ในวงเงิน 1 ล้านบาท และได้สนับสนุนงบประมาณต่อเนื่องในปีต่อมา ในส่วนของงบดำเนินการ และงบประมาณสำหรับการก่อสร้างอาคารสำนักงานและอาคารเรียนรวม |
|
7. สภามหาวิทยาลัย ได้พิจารณาเห็นชอบให้จัดตั้งหน่วยงานที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในระยะแรก 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี |
|
8. เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในปี พ.ศ. 2535 |
|
9. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้อนุมัติให้มหาวิทยาลัยใช้ประโยชน์ที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อการจัดตั้งวิทยาเขตตามขอ จำนวน 2 แปลง คือ ป่าเขาท่าเพชร อำเภอเมือง จำนวน 440 ไร่ และป่าทุ่งไสไช อำเภอไชยา จำนวน 4,000 ไร่ |
|
10. ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2537 นับเป็นหน่วยงานแรกที่มีการจัดตั้งที่วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี |
|
11. คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้มีการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็น 1 ใน 11 วิทยาเขตที่ได้รับการอนุมัติจากการประชุมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2538 |
|
12. เปิดหลักสูตรปริญญาโท ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาบริหารการศึกษาและประถมศึกษา ในปี 2538 |
|
13. คณะรัฐมนตรีมีอนุมัติให้วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เป็นวิทยาเขตสารสนเทศ ตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาค เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2539 |
|
14. ปรับหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรทั้ง 3 สาขา เป็นหลักสูตรอนุปริญญาในปีการศึกษา 2539 |
|
15. สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ความเห็นชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาผลิตกรรมชีวภาพ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2542 |
|
16. หยุดรับนักศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาทั้ง 3 หลักสูตร ในปีการศึกษา 2541 |
|
17. เปิดรับนักศึกษาปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2542 สาขาวิชาผลิตกรรมชีวภาพรุ่นแรก จำนวน 42 คน |
|
18. สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ความเห็นชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา
เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 |
|
19. เปิดรับนักศึกษาปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2544 สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมในสาขาย่อย 3 สาขา ได้แก่ การจัดการอุตสาหกรรม การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม และการจัดการอุตสาหกรรมชีวภาพ รุ่นแรก จำนวน 113 คน |
|
20. สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ความเห็นชอบหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
|
21. เปิดรับนักศึกษาปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2545 สาขาวิชาวิทยาการจัดการรุ่นแรก จำนวน 85 คน |
|
22. เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545 สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ความเห็นชอบจัดตั้งคณะเทคโนโลยีและการ จัดการ |
|
23. สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมยาง โดยรับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 77 คน ในปีการศึกษา 2547 |
|
24. เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2546 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้มีการใช้พื้นที่ของเขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี ที่ตำบลทุ่งใสไช อำเภอไชยา สำหรับมหาวิทยาลัยมหิดลในการดำเนินการจัดตั้งศูนย์เพาะเลี้ยง สายพันธุ์กุ้ง |
|
25. สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อนุมัติให้ใช้ชื่อ “ เขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี ” แทนโครงการจัดตั้งวิทยาเขต สุราษฎร์ธานี และอนุมัติเห็นชอบแผนพัฒนาเขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2547-2554 |
|
|
|
26. สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ความเห็นชอบหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาธุรกิจเกษตร สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ และสาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรับนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 48 คน ในปีการศึกษา 2548 |
|
27. สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เห็นชอบการแบ่งโครงสร้างสำนักงานเขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี เห็นชอบการมีสำนักงานคณะเทคโนโลยีและการจัดการ และเห็นชอบการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2548 |
|
28. สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการแปรรูปชีวภาพ โดยรับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 8 คน ในปีการศึกษา 2549 |
|
30. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ได้ดำเนินการรับนักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 43 คน ในปีการศึกษา 2550 |
|
31. สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ความเห็นชอบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษา การสื่อสาร และธุรกิจ โดยรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2551 |
|
32. สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ความเห็นชอบการปรับโครงสร้างภายในวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และให้ความเห็นชอบการปรับเปลี่ยนชื่อหน่วยงานภายใน จากเดิม “คณะเทคโนโลยีและการจัดการ” เป็น “คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม” และ “คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์” เป็น “คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ” ในปี พ.ศ. 2551 |
|
33. สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รับทราบการให้ความเห็นชอบในการปรับปรุงหลักสูตร จากเดิม “หลักสูตรวิทยา-ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาผลิตกรรมชีวภาพ” เป็น “หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตทางชีวภาพ” และ “หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ” เป็น “หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาธุรกิจ” โดยเริ่มใช้กับนักศึกษารหัส 52 เป็นต้นไป |
|
34. การก่อสร้างอาคารศูนย์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และเครื่องมือกลางแล้วเสร็จ ทำให้มีความพร้อมในการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการวิทยาศาสตร์มากขึ้น ในปี พ.ศ. 2552 |