Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
ภาควิชาชีววิทยาช่องปากและระบบการบดเคี้ยว
(Department of Oral Biology and Occlusion)
สำนักงาน
:
ชั้น 4 อาคาร 3 ตึกรัชมงคลนครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ตู้ ปณ 17 ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112
โทรศัพท์
:
0 7428 7611
โทรสาร :
0 7442 9873
E-mail
:
atchara.th@psu.ac.th
ภาควิชาชีววิทยาช่องปากและระบบการบดเคี้ยว จัดการเรียนการสอนในเรื่องชีววิทยาช่องปาก ตั้งแต่เรื่องกำเนิดและพัฒนาการของฟันและอวัยวะที่เกี่ยวข้องภายในกระดูกขากรรไกร โครงสร้าง หน้าที่ ความสัมพันธ์กับการเกิดโรคในช่องปากและความเกี่ยวข้องกับการรักษาในคลินิกของฟันและอวัยวะที่เกี่ยวข้องทั้งหมดโดยละเอียด ในส่วนของระบบการบดเคี้ยวจะเน้นเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะและการทำงานของฟันแต่ละซี่ รวมถึงอวัยวะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการบดเคี้ยวและการสบฟัน นอกจากนี้ ภาควิชายังรับผิดชอบการสอนในเรื่องของชีวสถิติ และกระบวนการวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนสามารถนำสถิติและการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในวิชาชีพทันตแพทย์ต่อไป
ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์
(Department of Prosthetics)
สำนักงาน
:
ชั้น 2 อาคาร 3 ตึกรัชมงคลนครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ตู้ ปณ 17 ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112
โทรศัพท์
:
0 7428 7561
โทรสาร :
0 7442 9874
E-mail
:
kuntaros.s@psu.ac.th
ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ จัดการเรียนการสอน การวิจัยและให้บริการรักษาผู้ป่วยทางด้านการใส่ฟันเทียมชนิดต่าง ๆ และการทำรากเทียมและการทำอวัยวะเทียมบนใบหน้าและขากรรไกร (Maxillofacial Prostheses) โดยศึกษาวิธีการตรวจ บันทึกประวัติ ลักษณะกายวิภาคในช่องปาก เทคนิคการพิมพ์ปาก และวิธีการสบฟันที่ผิดปกติ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับการใส่ฟันเทียม โดยฝึกปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการและคลินิกในการออกแบบ เตรียมฟันและใส่ฟันเทียมทั้งแบบบางส่วนถอดได้และฟันเทียมทั้งปาก รวมทั้งการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จากการใส่ฟันเทียม เช่น การปรับแต่ง การซ่อมฟันเทียม การเสริมฐานฟันเทียม ฯลฯ นอกจากนี้ ภาควิชายังรับผิดชอบการเรียนการสอนและการวิจัยเกี่ยวกับวัสดุทางทันตกรรม ได้แก่ ทันตวัสดุ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทันตกรรมประเภทต่าง ๆ โดยศึกษาคุณสมบัติ ชนิดหรือประเภทและประโยชน์ของวัสดุ รวมทั้งวิธีการเก็บรักษาและการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ
ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน
(Department of Preventive)
สำนักงาน
:
ชั้น 3 อาคาร 3 ตึกรัชมงคลนครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ตู้ ปณ 17 ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112
โทรศัพท์
:
0 7428 7600, 0 7428 7601
โทรสาร :
0 744 29875
E-mail
:
preventdept@gmail.com
ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน จัดการเรียนการสอนเพื่อที่จะให้นักศึกษามีความคิดรวบยอดในปรัชญาด้านทันตกรรมป้องกัน และมุ่งเน้นให้นักศึกษาให้การรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วย ภายใต้จิตสำนึกและบนหลักการของการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค การดำเนินงานในภาควิชาได้แบ่งออกเป็น 3 สาขาวิชาคือ
1.
สาขาวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก
จัดการเรียนการสอนเน้นการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องและการให้การรักษาโรคที่พบบ่อยในช่องปากของเด็กซึ่ง เป็นสิ่งสำคัญซึ่งจะนำมาสู่ประชากรในชุมชนที่มีสุขภาพช่องปากที่ดี โดยมีการประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมของเด็กมาใช้ เพื่อนำไปสู่การวางแผนทางทันตกรรมป้องกันที่เหมาะสมและการตรวจรักษาที่ถูกต้อง
2.
สาขาวิชาทันตกรรมจัดฟัน
จัดการเรียนการสอนเน้นให้นักศึกษาสามารถวินิจฉัยความผิดปกติของการสบฟันและโครงสร้างของกระดูกขากรรไกรและใบหน้า รวมถึงความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุของความผิดปกติ เพื่อประโยชน์ในงานป้องกันและรักษาขั้นต้นในกรณีที่มีความผิดปกติไม่รุนแรง และสามารถส่งต่อผู้ป่วยได้ในกรณีที่มีความผิดปกติรุนแรง
3.
สาขาวิชาทันตกรรมชุมชน
จัดการเรียนการสอนเน้นให้นักศึกษาสามารถประมวลวิชาความรู้พื้นฐานทางสังคมและมานุษยวิทยาที่เกี่ยวข้อง มาผสมผสานกับวิชาการต่าง ๆ ทางสาธารณสุขศาสตร์ไปใช้ในการค้นหาปัญหาสุขภาพช่องปากที่สำคัญในชุมชน รวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาและประเมินผลอย่างถูกต้องและเป็นระบบ สามารถเลือกใช้กลวิธีส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในการแก้ไขสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยและชุมชนโดยใช้ความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ความรู้ความชำนาญทางคลินิกมาผสมผสานความรู้ทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ยังได้มีการสอดแทรกประสบการณ์การเรียนรู้แก่นักศึกษาในการปฏิบัติงานในชุมชนจริง โดยนักศึกษาจะได้ออกฝึกปฏิบัติงานในชุมชนและโรงเรียน
ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์
(Department of Conservative)
สำนักงาน
:
ชั้น 2 อาคาร 3 ตึกรัชมงคลนครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ตู้ ปณ 17 ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112
โทรศัพท์
:
0 7428 7561
โทรสาร :
0 7442 9877
E-mail
:
kanlaya.l@psu.ac.th
ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์ จัดการเรียนการสอน การวิจัยและการให้บริการด้านการบูรณะฟันที่ยังมีชีวิต ไม่มีชีวิตและฟันที่สูญเสียไป รวมทั้งเนื้อเยื่อปริทันต์ให้อยู่ในสภาพที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด และสามารถทำงานได้ตามปกติ โดยนักศึกษาจะลงปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการและลงปฏิบัติงานในคลินิก เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยโดยการอุดฟัน รักษาคลองรากฟัน การใส่ฟันปลอมชนิดติดแน่น และการรักษาโรคเหงือกโดยวิธีต่าง ๆ การดำเนินงานในภาควิชาได้แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชาคือ
1.
สาขาวิชาทันตกรรมหัตถการ
จัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นงานด้านบูรณะฟันธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์ป้องกันและให้การรักษารอยโรคของฟันธรรมชาติ ซึ่งรอยโรคนี้อาจเป็นการผุ การสึกจากสาเหตุต่าง ๆ ความผิดปกติของฟัน รวมถึงฟันที่มีสีผิดปกติและฟันที่มีการแตกหัก
2.
สาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์
จัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถวินิจฉัยโรคของพัลป์และเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันชนิดต่าง ๆ ตลอดจนสามารถให้การรักษาได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
3.
สาขาวิชาปริทันตวิทยา
จัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถวินิจฉัยโรคทางปริทันตวิทยาชนิดต่าง ๆ รวมทั้งสามารถให้การรักษาด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในงานป้องกันและรักษาโรคปริทันต์ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญมากอันหนึ่งทางทันตสุขภาพของประชาชนชาวไทย
4.
สาขาวิชาครอบและสะพานฟัน
จัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ขอบข่ายงานครอบและสะพานฟัน เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนวัสดุทันตกรรมที่เกี่ยวข้อง เรียนรู้ขั้นตอนในการทำงานครอบและสะพานฟันโดยมีการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการและในคลินิก ซึ่งนักศึกษาจะต้องสามารถวินิจฉัย วางแผนการรักษา และให้การรักษาในงานครอบและสะพานฟันแก่ผู้ป่วยได้
ภาควิชาศัลยศาสตร์
(Department of Surgery)
สำนักงาน
:
ชั้น 3 อาคาร 3 ตึกรัชมงคลนครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ตู้ ปณ 17 ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112
โทรศัพท์
:
0 7428 7591, 0 7428 7596, 0 7442 9876
โทรสาร :
0 7442 9876
E-mail
:
dent_surgery@group.psu.ac.th
ภาควิชาศัลยศาสตร์ จัดการเรียนการสอนการวิจัยและให้บริการเกี่ยวกับงานด้านศัลยศาสตร์ช่องปาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำการตรวจ วินิจฉัย และวางแผนการรักษาและให้การรักษาทางศัลยกรรมช่องปาก เช่น การถอนฟัน การผ่าตัดฟันคุด การผ่าตัดปลายรากฟัน การรักษาอุบัติเหตุที่เกิดต่อฟันและกระดูกขากรรไกร การรักษาภาวะติดเชื้อบริเวณช่องปากและใบหน้า รวมถึงมีความเข้าใจถึงการรักษาความเจ็บปวดบริเวณใบหน้า การรักษาถุงน้ำและเนื้องอกของกระดูกขากรรไกร การผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของการสบฟันและกระดูกขากรรไกร ทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือเนื่องจากอุบัติเหตุ การผ่าตัดเพื่อการใส่ฟันเทียมรวมถึงรากฟันเทียม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิชาอายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ทั่วไปและวิสัญญีวิทยาสำหรับนักศึกษาทันตแพทย์
ภาควิชาโอษฐวิทยา
(Department of Pathology)
สำนักงาน
:
ชั้น 2 อาคาร 3 ตึกรัชมงคลนครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ตู้ ปณ 17 ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112
โทรศัพท์
:
0 7428 7581
โทรสาร :
0 7442 9878
E-mail
:
benyapa.w@psu.ac.th
ภาควิชาโอษฐวิทยา จัดการเรียนการสอน การบริการและการวิจัยเกี่ยวกับโรคชนิดต่าง ๆ ที่พบในช่องปาก อวัยวะข้างเคียงในด้านของการตรวจพิเคราะห์โรค การใช้ภาพถ่ายรังสีและวิธีต่าง ๆ ทางห้องปฏิบัติการมาประกอบการรักษาทางยา การดำเนินงานในภาควิชาได้แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา คือ
1.
สาขาวิชาอายุรศาสตร์ช่องปาก
จัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถ ในการตรวจในช่องปาก การตรวจด้วยเทคนิคเพิ่มเติม การส่งตรวจทางรังสีและการส่งตรวจเพิ่มเติมห้องปฏิบัติการ การให้การวินิจฉัย วางแผนการรักษาอย่างองค์รวม รวมถึงการให้การรักษารอยโรคต่าง ๆ ในช่องปากด้วยการใช้ยา และการดูแลรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบร่วมด้วย
2.
สาขาวิชารังสีวิทยาช่องปาก
จัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องรังสีวิทยาของฟัน กระดูกขากรรไกรและอวัยวะที่เกี่ยวข้องในช่องปาก ตั้งแต่พื้นฐานของการเกิดรังสี ผลทางชีวภาพ อันตรายจากรังสีและวิธีป้องกัน ขบวนการในการเกิดภาพรังสี วิธีถ่ายภาพรังสีบริเวณใบหน้าแบบต่าง ๆ ตลอดจนบทบาทของภาพรังสีในการให้การวินิจฉัยโรค
3.
สาขาวิชาจุลชีววิทยาช่องปาก
จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับพื้นฐานและกลไกการติดเชื้อจุลชีพในช่องปาก ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับร่างกาย การตรวจสอบความไวของยาต่อเชื้อ การป้องกันการแพร่กระจายการติดเชื้อ วิธีทำให้ปราศจากเชื้อในงานทันตกรรม หลักวิธีการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจ รวมถึงการแปลผลการทดสอบในป้องปฏิบัติการ
4.
สาขาวิชาพยาธิวิทยาช่องปาก
จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับหลักทั่วไปทางพยาธิวิทยา โดยเน้นเกี่ยวกับสาเหตุและกลไกของการเกิดโรค การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับเซลล์และเนื้อเยื่อ การติดเชื้อจุลชีพและภูมิคุ้มกันวิทยาพื้นฐาน โรคทางกายและโรคที่พบในช่องปาก ตลอดจนถึงความสัมพันธ์ของโรคทางกายและโรคในช่องปาก ลักษณะพยาธิสภาพที่เห็นด้วยตาเปล่าและด้วยกล้องจุลทรรศน์ พร้อมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะพยาธิสภาพและลักษณะทางคลินิก