Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
คณะทรัพยากรธรรมชาติจัดตั้งขึ้นในวิทยาเขตหาดใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.2518 เพื่อปฏิบัติงานวิชาการ และการพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรที่สามารถเกิดขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมได้ เช่น ทรัพยากรเกษตร ประมง ดิน น้ำ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม โดยผ่าน 3 กระบวนการหลัก คือ กระบวนการเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ความสามารถในวิทยาศาสตร์ของการจัดการทรัพยากรในด้านการผลิตทางด้านเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน โดยส่งผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยผสมผสานวิทยาการสมัยใหม่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยสามารถทำงานที่ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมในท้องถิ่น ประเทศ และภูมิภาคใต้ กระบวนการวิจัยเพื่อคิดค้นและพัฒนาองค์ความรู้ระบบและเทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับนำมาใช้ในการพัฒนาการผลิตทางการเกษตรและจัดการทรัพยากรทั้งในเชิงอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ สังคม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ตลอดจนแก้ไขปัญหาของชุมชน และกระบวนการบริการวิชาการเพื่อนำความรู้และวิทยาการสมัยใหม่ที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยเผยแพร่สู่สังคมทั้งในระดับท้องถิ่นภาคประเทศ และนานาชาติ
ปัจจุบันเปิดสอน 2 หลักสูตร โดยมี 6 ภาควิชา รับผิดชอบ ได้แก่ ภาควิชาพืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ พัฒนาการเกษตร การจัดการศัตรูพืช ธรณีศาสตร์ และวาริชศาสตร์
คณะทรัพยากรธรรมชาติมีคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิ ตำแหน่งทางวิชาการและประสบการณ์ในการสอนและวิจัยอยู่ในระดับแนวหน้าของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีอาจารย์ระดับปริญญาเอกถึงร้อยละ 73.53 มีตำแหน่งทางวิชาการสูงเป็นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอาจารย์ได้รับการประเมินด้านการสอนโดยนักศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
มีงานวิจัยและบริการวิชาการที่มีความโดดเด่นในด้านปาล์มน้ำมัน ยางพารา ไม้ผลในภาคใต้ ไก่พื้นเมือง สัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก การเพาะเลี้ยงกุ้ง นิเวศวิทยาป่าชายเลน โรคและแมลงศัตรูพืชสำหรับพืชเศรษฐกิจในภาคใต้ การจัดการทรัพยากรดินเพื่อการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการเกษตร
มีคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิ ตำแหน่งทางวิชาการและประสบการณ์ในการสอนและวิจัยอยู่ในระดับแนวหน้าของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีงานวิจัยและบริการวิชาการที่มีความโดดเด่น เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการเกษตร
สีเขียวก้านมะลิ
#C8D47B