Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
คณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ภายใต้ชื่อ “โครงการจัดตั้งคณะวิจิตรศิลป์” ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัยให้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และจากการประชุมสภามหาวิทยาลัยในคราวประชุม ครั้งที่ 240 (7/2543) เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ได้พิจารณาเรื่องโครงการจัดตั้งคณะวิจิตรศิลป์ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อจากโครงการจัดตั้งวิจิตรศิลป์ เป็นโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ และเห็นชอบให้นำเสนอทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ตามขั้นตอนต่อไป
สำหรับการจัดตั้งหน่วยงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้พิจารณาแล้วเห็นควรให้จัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานในกำกับที่ขอใช้งบประมาณแผ่นดิน โดยได้บรรจุอยู่ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 9 ซึ่งได้ดำเนินการรับนักศึกษารุ่นแรกภายในปีการศึกษา 2545 จำนวน 3 สาขา 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปะบัณฑิตสาขาวิชาทัศนศิลป์, สาขาวิชาศิลปะการแสดง สาขาวิชาศิลปะการแสดง(ต่อเนื่อง) ในปีการศึกษา 2546 ได้เปิดรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นอีก 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาศิลปะประยุกต์ ทั้งนี้ คณะศิลปกรรมศาสตร์ได้ดำเนินการตามภารกิจการเตรียมความพร้อมในการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม และด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ปัจจุบัน คณะศิลปกรรมศาสตร์ เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต ทำการสอนใน 3 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ แขนงวิชาทัศนศิลป์ สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ แขนงวิชาศิลปะการแสดง (เปิดสอน ณ วิทยาเขตตรัง)และสาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ แขนงวิชาศิลปะประยุกต์ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะทางศิลปกรรม ขั้นสูง ส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ และผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและท้องถิ่น สามารถประกอบวิชาชีพอิสระได้ โดยยึดแนวคิดในการผลิตบัณฑิตที่สามารถสร้างสรรค์งานด้านศิลปกรรมที่มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและของชาติ ตลอดจนส่งเสริมการวิจัยเพื่อค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่และให้บริการวิชาการแก่ชุมชนในภาคใต้รวมถึงการสืบสานวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
คณะศิลปกรรมศาสตร์เปิดรับนักศึกษาครั้งแรกในปีการศึกษา 2545 บริหารงานแบบรวมศูนย์ไม่มีหน่วยงานที่เป็นภาควิชาแต่กำหนดเป็นสาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ ปัจจุบันเปิดสอนระดับปริญญาตรี 3 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ แขนงวิชาทัศนศิลป์ สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ แขนงวิชาศิลปะการแสดง และสาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ แขนงวิชาศิลปะประยุกต์
การพัฒนาเอกลักษณ์นักศึกษาในยุคการเปลี่ยนแปลง เพิ่มการวิจัยและการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมเพื่อพัฒนามาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนเพื่อการถ่ายทอดศิลปะและวัฒนธรรมสู่มาตรฐานคุณภาพ
จุดเด่น-ตลาดแรงงานในภาพรวมของคณะ
- จุดเด่นของคณะศิลปกรรมศาสตร์
1. คณะฯ มีหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และการบูรณาการความรู้ในศาสตร์แต่ละแขนงวิชาเข้าด้วยกัน จึงสามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในสาขาวิชาได้อย่างแท้จริง
2. คณะฯ มีหลักสูตรที่มีความหลากหลาย ทันสมัย และมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ มีทักษะในสาขาวิชาที่ศึกษาจากประสบการณ์ตรง จากการฝึกปฏิบัติ การศึกษาดูงาน การฝึกงาน การวิจัย
3. มีคณาจารย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ตลอดจนมีการพัฒนาคุณภาพอาจารย์อย่างต่อเนื่อง จึงสามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และความเข้าใจทางด้านศิลปกรรมได้อย่างแท้จริง
4. บัณฑิตของคณะฯ เป็นที่ต้องการของหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน เนื่องจากเป็นแขนงวิชาที่ยังขาดแคลน บัณฑิต ไม่เพียงพอกับความต้องการ
5. คณะฯ มีการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม กล่าวคือ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คงธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมของชาติ ตลอดจนการปลูกฝังให้นักศึกษาของคณะฯ มีความหวงแหนและสืบสานวัฒนธรรมจนถึงเยาวชนรุ่นหลังต่อไป
- ตลาดแรงงานในภาพรวมของคณะ
ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต จะเป็นผู้มีความรู้อย่างถ่องแท้ในศาสตร์ของศิลปกรรม สามารถ
เข้าทำงานได้ทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน อาทิเช่น อาจารย์สอนทางด้านศิลปกรรม, ประกอบอาชีพอิสระ นักวิชาการ
สีทอง
#C3AD1A