Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นคณะที่ 6 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับอนุมัติจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2517 ระยะแรกใช้ชื่อว่าคณะมนุษยศาสตร์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อคณะ เป็น “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกเมื่อปีการศึกษา 2518
วิสัยทัศน์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จะเป็นคณะวิชาที่มีความเป็นเลิศในการผลิตบัณฑิต และพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อสร้างปัญญาให้แก่สังคม
พันธกิจ
1. จัดการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมการเชื่อมโยงเครือข่ายในระดับประเทศและนานาชาติ โดยเปิดหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และผู้ใช้บัณฑิตและแสวงหาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศในลักษณะการแลกเปลี่ยนบุคลากร การส่งนักศึกษาไปฝึกงาน ฯลฯ
2. พัฒนาองค์ความรู้โดยสร้างความเข้มแข็งในการวิจัย โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ภาษา และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
3. บูรณาการองค์ความรู้และภูมิปัญญา จากความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพื่อประยุกต์ใช้ในการผลิตบัณฑิต และการพัฒนาสังคม โดยเพิ่มผลงานวิจัย เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาสังคมวัฒนธรรม และปรับใช้ในการจัดหลักสูตร
วัตถุประสงค์และภารกิจหลัก
1. ผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และตอบสนองความต้องการของสังคมและท้องถิ่น
2. วิจัยเพื่อค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
3. ให้บริการวิชาการในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แก่ชุมชน
4. ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
1. คณะมีหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมีความเป็นบูรณาการ จึงสามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในสาขาวิชาที่เป็นมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์อย่างแท้จริง
2. คณะมีหลักสูตรที่ได้รับการปรับปรุงให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสังคม
3. คณะมีบุคลากรผู้สอนที่เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ ที่เปิดสอน และมีการพัฒนาคุณภาพอาจารย์อย่างต่อเนื่อง
4. คณะมีห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานและมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย
5. นักศึกษาสามารถที่จะใช้เวลาส่วนหนึ่งของเวลาเรียนในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไปศึกษาต่อต่างประเทศได้ โดยสมัครเข้ารับการคัดเลือก เพื่อไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ที่คณะมีความร่วมมือ ซึ่งได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย เกาหลี ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีน
6. คณะมีการติดต่อกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับนานาชาติของเอเชีย ยุโรป และอเมริกา สามารถรองรับกิจกรรมด้านวิเทศสัมพันธ์ทั้งการแลกเปลี่ยนอาจารย์ นักศึกษา การวิจัยร่วม เพื่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการวิจัย
7. คณะมีความสัมพันธ์กับองค์กรของรัฐ เอกชน และชุมชนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ซึ่งสามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการศึกษาและการทำวิจัยได้
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เปิดหลักสูตรในระดับปริญญาตรีแก่นักศึกษา 1 ประเภท คือ ประเภทหลักสูตรปกติ เป็นหลักสูตรที่รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า เข้าศึกษาโดยใช้เวลาศึกษา 4 ปี มีหน่วยกิตตลอดหลักสูตรอยู่ระหว่าง 130-150 หน่วยกิต
ปัจจุบันคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีหลักสูตรสำหรับนักศึกษา 5 หลักสูตร คือ
1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
ดังนี้
แบบเอก-โท
1. สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีไทย
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)
2. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)
3. สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)
4. สาขาวิชาภาษาเยอรมัน
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)
5. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)
6. สาขาวิชาภาษาเกาหล
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)
7. สาขาวิชาภาษามลาย
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)
8. สาขาวิชามลายูศึกษา
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)
9. สาขาวิชาพัฒนาสังคม
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)
10. สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2553)
11. สาขาวิชาประวัติศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)
แบบเอกเดี่ยว
1. สาขาวิชาภาษาอาหรับ-ภาษาอาหรับธุรกิจ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2553)
2. สาขาวิชาภาษาจีน
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)
3. สาขาวิชาภาษาจีน(นานาชาติ)
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2553)
4. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)
5. สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
แบบเอกเดี่ยว
- สาขาวิชาภูมิศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)
3. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2553)
แบบเอกเดี่ยว
- แขนงวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
4. หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2553)
แบบเอกเดี่ยว
- แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา
- แขนงวิชาเศรษฐกิจอาเซียน
5. หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)
แบบเอก-โท
- สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์
สีขาว
#FFFFFF