คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2546
จุดเด่นของคณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ
คณะมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารสถานที่ และมีความพร้อมในการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตที่พึงประสงค์ สาขาวิชาที่เปิดสอน เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ส่งผลให้บัณฑิตของวิทยาเขตตรัง มีภาวะการได้งานทำอยู่ในเกณฑ์สูง
คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มีสาขาวิชา 5 สาขาวิชา ดังนี้
1. สาขาวิชาการบัญชี
เปิดสอนหลักสูตรบัญชีบัณฑิต
- สาขาวิชาการบัญชี
- สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชี
2. สาขาวิชาจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
- สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาการจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3. สาขาการจัดการธุรกิจ
เปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
- สาขาวิชาการประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง
- สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว
- สาขาวิชาการตลาด
4. สาขาวิชาสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์
เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิชาการจัดการรัฐกิจและวิสาหกิจ
5. สาขาวิชาภาษา
เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
หลักสูตรที่เปิดสอน มีดังนี้
1) หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
ชื่อปริญญา บัญชีบัณฑิต
(
การบัญชี
)
ผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาชีพบัญชี ให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างงานเพื่อประกอบอาชีพได้ โดยงานทางด้านบัญชีถือเป็นสาขาหนึ่งของธุรกิจวิชาชีพที่สถาบันและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญ และเป็นความต้องการของตลาดงานปัจจุบันและอนาคต ในขณะนี้การประกอบวิชาชีพบัญชีได้ขยายครอบคลุมออกไปหลายด้านไม่ว่าการทำบัญชี การสอบบัญชี การวางระบบบัญชี หรือบริการด้านอื่น ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมในทางธุรกิจต่างๆ มากมาย
อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ
บัณฑิตสาขาวิชาการบัญชี สามารถทำงานทั้งในบริษัท ห้างหุ้นส่วน สถาบันการเงิน หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจทุกองค์กร รวมถึงการประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว ความก้าวหน้าในวิชาชีพคือเป็นพนักงานบัญชี สมุห์บัญชี ผู้จัดการบัญชี ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ที่ปรึกษาด้านงานบัญชีและภาษีอากร และ ผู้จัดการทางการเงิน
2) หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชี
ชื่อปริญญา บัญชีบัณฑิต (ระบบสารสนเทศทางการบัญชี)
ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านวิชาชีพบัญชีและระบบสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจทุกประเภทนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการสารสนเทศทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การตลาด การผลิต การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการบัญชี ทำให้ตลาดแรงงานมีความต้องการบัณฑิตที่มีความรู้ด้านบัญชี และมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ
บัณฑิตสาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชี สามารถทำงานทั้งในบริษัท ห้างหุ้นส่วน สถาบันการเงิน หน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจทุกองค์กร รวมถึงการประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว ความก้าวหน้าในวิชาชีพคือ เป็นพนักงานบัญชี สมุห์บัญชี ผู้จัดการบัญชี ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ที่ปรึกษาด้านงานบัญชีและภาษีอากร ผู้จัดการทางการเงิน นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี และที่ปรึกษาด้านงานบัญชีและระบบสารสนเทศทางการบัญชี
3) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
ชื่อปริญญา บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการสารสนเทศและคอมพิวเตอร์)
มีความรู้ด้านหลักการและโครงสร้างของศาสตร์ทางธุรกิจ มีความเข้าใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีทักษะในการจัดการสารสนเทศทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ มีความสามารถในด้านการใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ และพร้อมนำความรู้ออกไปรับใช้สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ
นักเขียนโปรแกรม หรือ ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ นักพัฒนาออกแบบและดูแลเว็บไซต์ ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานธุรกิจ ผู้จัดการโครงการสารสนเทศ
4) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ชื่อปริญญา บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
ผลิตบัณฑิตซึ่งมีความรู้ ความเข้าใจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ควบคู่ความรู้ด้านหลักการและโครงสร้างของศาสตร์ทางธุรกิจ สามารถนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้กับระบบงานธุรกิจ พร้อมความสามารถในด้านการใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ มีจริยธรรมและคุณธรรมที่ดีงาม พร้อมนำความรู้ออกไปรับใช้สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ
ผู้ประกอบการธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Business Owner) นักพัฒนาโปรแกรมทางเว็บไซต์ (Web Programmer) นักออกแบบพัฒนาและดูแลเว็บไซต์ (Web Designer and Web Master) นักวิเคราะห์ระบบธุรกิจ (Business Analyst) นักการตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Marketer) ผู้บริหารการขายออนไลน์ (Online Store Executive) นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้งานธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
5) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง
ชื่อปริญญา
บริหารธุรกิจบัณฑิต
(
การประกันภัยและการจัดการ
ความเสี่ยง)
ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทั้งทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้หลักวิชาการประกันภัยและการจัดการความเสี่ยงรวมถึงมีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพในการบริหารจัดการและพัฒนาธุรกิจประกันภัย เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานที่ยังขาดแคลนบุคลากรทางด้านการประกันภัยและการจัดการความเสี่ยงซี่งมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางธุรกิจ ประกันภัยของประเทศไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ
บัณฑิตสาขาวิชาการประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง สามารถทำงานในฝ่ายคณิตศาสตร์ประกันภัย ฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยง และฝ่ายงานอื่น ๆ ในบริษัทประกันภัย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สำนักงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย (IPRB) สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัย สำนักงานประกันสังคม ธนาคาร สถาบันการเงิน หน่วยงานทางการแพทย์ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน อีกทั้งยังสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านการประกันภัยได้อีกด้วย์
6) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว
ชื่อปริญญา บริหารธุรกิจบัณฑิต
(การจัดการการท่องเที่ยว)
มุ่งเตรียมความพร้อมให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถและมีความเชี่ยวชาญทางด้านการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว โดยสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและทางด้านปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม มีทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ เพื่อไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจริยธรรมและคุณธรรมในการประกอบวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ
บัณฑิตสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่น ผู้ปฎิบัติงานทางด้านการท่องเที่ยวในภาครัฐและเอกชน นักวิชาการด้านการท่องเที่ยวในหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่น และอาชีพอิสระอื่น ๆ เช่น ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ พนักงานสายการบิน/โรงแรม/ศูนย์ประชุม
7) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด
ชื่อปริญญา
บริหารธุรกิจบัณฑิต
(
การตลาด
)
สาขาวิชาการตลาด มุ่งเน้นระบบความรู้ทางด้านกระบวนการคิด สร้างทักษะในการวิเคราะห์ทางการตลาด รวมถึงการนำเอาแนวคิดมาใช้ปฏิบัติในโลกการตลาดที่เป็นจริงได้ ให้บัณฑิตเป็นนักการตลาดในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและทักษะทางภาษาต่างประเทศมาประยุกต์ใช้โดยมีความมุ่งหมายที่จะตอบสนองกับความต้องการที่ไม่หยุดนิ่งของประชาคมยุคเสรีซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งทางภาษาและวัฒนธรรม เป็นบัณฑิตที่มีจริยธรรมและคุณธรรมที่ดีงาม พร้อมนำความรู้และทักษะออกไปรับใช้สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาประเทศชาติ
อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ
บัณฑิตสาขาวิชาการตลาด สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานต่าง ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ซึ่งลักษณะงานจะเกี่ยวข้องกับหน้าที่ในการวิเคราะห์และวางแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัทต่างๆ รวมถึงทำหน้าที่ในฝ่ายต่างๆ เช่น อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ คลังสินค้า งานขาย งานวิเคราะห์ตลาด การกำหนดกลยุทธ์ งานโฆษณาประชาสัมพันธ์ และการพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในการประกอบธุรกิจส่วนตัวและการศึกษาต่อในระดับปริญญาโททางการบริหารธุรกิจ หรือทางการตลาด
8) หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการรัฐกิจและวิสาหกิจ
ชื่อปริญญา
รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
(
การจัดการรัฐกิจและวิสาหกิจ
)
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านการบริหาร ทั้งการบริหารงานภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรมหาชน ผสมผสานในแบบนักบริหารและนักปกครองยุคใหม่ ที่สามารถนำหลักการบริหารการจัดการที่ทันสมัยมาปรับใช้ในการทำงานได้ แสะสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทั้งนี้ยังเป็นนักบริหารยุคใหม่ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีจริยธรรม มีจิตสำนึกสาธารณะ เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สังคม และตนเอง
อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ
บัณฑิตสาขาการจัดการรัฐกิจและวิสาหกิจ สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ ภาคเอกชน ในตำแหน่ง นักปกครอง นักบริหาร และพนักงาน ทั้งในสังกัดเทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์กรอิสระต่าง ๆ รวมทั้งข้าราชการพลเรือนในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป หรือสามารถรับราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และศาลปกครอง เป็นต้น
9) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต
(สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ)
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาษาอังกฤษ การบริหารและการจัดการเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจทั้งในองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกในการให้บริการสังคม
อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ
บัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ สามารถทำงานหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เช่น ข้าราชการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ อาจารย์ทางด้านภาษาอังกฤษธุรกิจ พนักงานธนาคาร พนักงานประชาสัมพันธ์ในองค์กรรัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น ผู้จัดการ เลขานุการ พนักงานบริษัท พนักงานโรงแรมและท่องเที่ยว พนักงานให้บริการในงานสายการบิน ธุรกิจส่วนตัว เช่น ด้านการขาย การนำเข้าและส่งออก การโรงแรมและท่องเที่ยว การพาณิชย์อิเลกทรอนิคส์
10) หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
แขนงวิชาศิลปะการแสดง (เปิดสอนที่วิทยาเขตตรัง)
ชื่อปริญญา ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ทักษะ และความเข้าใจในศาสตร์ทางด้านศิลปกรรมรวมถึงประเพณีและวัฒนธรรม ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ จนถึงระดับนานาชาติ ควบคู่ไปกับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อให้บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพอิสระหรือทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีสุขและมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถเรียนรู้ศาสตร์ใหม่ๆ ทางด้านศิลปกรรมด้วยตนเอง
อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ
บัณฑิตสาขาวิชาศิลปะการแสดง สามารถทำงานเป็นนักแสดงอาชีพ นักออกแบบการแสดง นักจัดการทางด้านศิลปะการแสดง นักวิชาการทางด้านศิลปะการแสดง ผู้สอนศิลปะการแสดงในองค์กรภาครัฐและเอกชน
สีของคณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ
#00A2E1