คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักงาน
:
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
โทรศัพท์
:
0-7333-1303
โทรสาร :
0-7333-5130
E-mail
:
sci&tech@bunga.pn.psu.ac.th
ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์
(Department of Mathematics and Computer Science)
ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ จัดการเรียนการสอนทางด้านคณิตศาสตร์ สถิติและคอมพิวเตอร์ เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัย และร่วมรับผิดชอบสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์) สาขาวิชาคณิตศาสตร์ วิชาโทคณิตศาสตร และวิชาโทสถิติ รวมทั้งบริการสอนวิชาคณิตศาสตร์ สถิติและคอมพิวเตอร์ ให้แก่ทุกคณะในวิทยาเขตปัตตานี
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
เป็นหลักสูตรผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ ทางด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์ซึ่งจะเน้นใน 2 แนวเลือก คือ คณิตศาสตร์การเงินและวิทยาการสารสนเทศ ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงินและธุรกิจต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจขนาดเล็กขนาดกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจการเงิน การธนาคารและคอมพิวเตอร์
สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัย
(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต)
เน้นการศึกษา วิธีการทางสถิติและการวิจัยชั้นสูง และให้ผู้สำเร็จการศึกษา สามารถนำความรู้ดังกล่าวประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการพัฒนางานวิจัยได้อย่างเหมาะสม
ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ
ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ
จัดการเรียนการสอน ทางด้านวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ การอาหารและโภชนาการ โดยเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ
เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาทั้งวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ที่บูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหาร และด้านโภชนศาสตร์ โดยเน้นการแปรรูป วิศวกรรมอาหาร เคมีอาหาร วิเคราะห์อาหาร การประกันคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร รวมถึงศึกษาโภชนาการมนุษย์และการใช้อาหารบำบัดโรค
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ
(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต)
เป็นหลักสูตรที่บูรณาการ องค์ความรู้ ระหว่างวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนศาสตร์ ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถและทักษะในการทำวิจัย โดยเน้นการสร้างองค์ความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ด้านโภชนศาสตร์ รวมถึงการเพิ่มมูล ค่าผลผลิต การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและภาวะโภชนาการที่ดี
ภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม
(Department of Technology and Industries)
ภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม จัดการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต(ศึกษาศาสตร์) สาขาวิชาโทการเกษตร
สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร กลุ่มวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
เน้นด้านการผลิตพืชที่สำคัญของภาคใต้ การจัดการผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว สรีรวิทยาของพืช หลักการจัดการดินและปุ๋ย เทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืช วิศวกรรมเกษตร การวิจัยทางเทคโนโลยีการเกษตร และกลุ่มวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ เน้นการจัดการด้านผลิตสัตว์ โภชนศาสตร์สัตว์ การผลิตสัตว์ และธุรกิจสัตว์
สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง กลุ่มวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
กลุ่มวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
เน้นด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และพืชน้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ความรู้พื้นฐานในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การขยายพันธุ์ปลา การวิเคราะห์และการจัดการคุณภาพน้ำ โรคสัตว์น้ำ การออกแบบ การจัดการและการสร้างฟาร์ม และโรงเพาะฟักสัตว์น้ำ การผลิตอาหารสัตว์น้ำ พันธุศาสตร์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การบรรจุและขนส่งสัตว์น้ำ
กลุ่มวิชาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ประมง
เน้นในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ประมง การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ประมง การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ประมง จุลชีววิทยาทางการประมงและการตลาดผลิตภัณฑ์ประมง โดยมีภาคปฏิบัติควบคู่กับภาคทฤษฎี เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และด้านผลิตภัณฑ์ประมงอย่างมีประสิทธิภาพ
ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์
(Department of Rubber Technology and Polymer Science)
ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ จัดการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ โดยเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยียาง หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีพอลิเมอร์ ทำการศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับยางและพอลิเมอร์ โดยเน้นยางธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังให้บริการวิชาการให้แก่หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผู้สนใจทั่วไปในรูปแบบการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา การบริการทดสอบยาง การวิจัย เป็นต้น
สาขาวิชาเทคโนโลยียาง
มุ่งเน้นศาสตร์ของยางและพอลิเมอร์ ทำให้มีความเข้าใจเนื้อหาเกี่ยวกับยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ ด้านการออกแบบสูตร การแปรรูป การทดสอบและวิเคราะห์ การทำผลิตภัณฑ์ เคมีของยาง เคมีของพอลิเมอร์ ความรู้พื้นฐานด้านน้ำยาง และการนำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์ โดยมีการเรียนภาคทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ รวมทั้งมีการฝึกงาน และการวิจัยทางเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์
สาขาวิชาเทคโนโลยีพอลิเมอร์
(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต)
เน้นศึกษาทางด้านเทคโนโลยียางและพลาสติก วัตถุยางและพลาสติก สารเติมแต่งสำหรับยางและพลาสติก กระบวนการแปรรูปพอลิเมอร์ การทดสอบยางและพลาสติก การสังเคราะห์พอลิเมอร์ โครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ เคมีสำหรับวิศวกรรม การวิเคราะห์พอลิเมอร์โดยใช้อุปกรณ์ การควบคุมกระบวนการโดยใช้คอมพิวเตอร์ รวมทั้งการทำวิจัยในสาขาเทคโนโลยีพอลิเมอร์ที่ทันสมัย และเป็นผู้นำในสาขาวิชาเดียวกัน
สาขาวิชาเทคโนโลยีพอลิเมอร์
(หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต)
เน้นศึกษาวิจัยทางด้านเทคโนโลยีพอลิเมอร์ขั้นสูง โดยเฉพาะเทคโนโลยียางและพลาสติก เพื่อผลิตนักวิจัยและนักวิชาการที่มีความรู้ ความชำนาญ เป็นผู้นำทางวิชาการที่สามารถผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
ภาควิชาวิทยาศาสตร์
(Department of Science)
ภาควิชาวิทยาศาสตร์ จัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี-ชีววิทยา สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม สาขาวิชาฟิสิกส์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์นิเทศ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์พอลิเมอร์ สาขาวิชาเคมีประยุกต์และสาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์) สาขาวิชาเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไป รวมทั้งจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ให้ทุกคณะในวิทยาเขตปัตตานี
สาขาวิชาเคมี-ชีววิทยา
เน้นทางด้านเคมีอินทรีย์ เคมีวิเคราะห์ พลศาสตร์เคมี ชีวเคมี อุตสาหกรรมเคมี วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ จุลชีววิทยา สัตววิทยาทั่วไป นิเวศวิทยา จุลชีววิทยาทางอาหาร ชีววิทยาระดับโมเลกุลและระดับเซลล์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เทคโนโลยีชีวภาพ และพันธุวิศวกรรม
สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม
เน้นการผลิตบัณฑิตให้เป็นนักเคมีที่มีความรู้ความสามารถด้านอุตสาหกรรมเคมี สามารถสังเคราะห์และวิเคราะห์สารเคมีระดับโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนมีทักษะด้านการวิจัย และพัฒนาทางด้านเคมีอุตสาหกรรม
สาขาวิชาฟิสิกส์
เน้นการผลิตบัณฑิตสาขาฟิสิกส์ ที่มีความรู้พื้นฐานทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ทางด้านฟิสิกส์พอลิเมอร์ และฟิสิกส์แขนงต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม และสามารถศึกษาต่อระดับสูงในสาขาวิชาฟิสิกส์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง หรือศึกษาต่อในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพครูได้ นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างองค์ความรู้ฟิสิกส์เชิงประยุกต์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับพอลิเมอร์และเทคโนโลยียาง
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์นิเทศ
เน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถพัฒนาและใช้ระบบการสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ สามารถเชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปสู่สังคมผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ ได้อย่างมีประสทิธิภาพแพร่หลายในสังคมไทย
สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรวิศวกรรมเคมี)
สอนร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์
(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต)
มุ่งผลิตบุคลากรเป็นผู้นำด้านการวิจัย และพัฒนาวิชาการที่เกี่ยวกับฟิสิกส์พอลิเมอร์ โดยเฉพาะด้านสมบัติเชิงกล และไดนามิกของพอลิเมอร์ ทำให้เข้าใจการตอบสนองต่อแรงกระทำ รีโอโลยี เพื่อทำนายพฤติกรรมการไหลของพอลิเมอร์หลอม ในกระบวนการผลิต ฟิสิกส์ของยางเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ยาง สมบัติทางไฟฟ้าและฟิสิกส์ของเมมเบรน เป็นต้น
สาขาวิชาเคมีประยุกต์
(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต)
เน้นการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ด้านเคมีวิเคราะห์ เคมีสิ่งแวดล้อมหรือเคมีพอลิเมอร์ พร้อมทั้งผลิตนักวิจัยที่มีคุณธรรม จริยธรรม นำความรู้ทางวิชาการไปประยุกต์ใช้อย่างมีคุณภาพ
สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์
(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต)
เน้นการเรียน การวิจัยด้านชีววิทยา เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่ หรือองค์ความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการวิจัยทางชีววิทยาเข้าไปบรูณาการ และประยุกต์ในการสร้างทางเลือกอันจะนำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์) สาขาวิชาต่างๆ
จัดให้เรียนภาคปฏิบัติควบคู่กับทฤษฎี มีข้อจำแนกเฉพาะดังนี้
สาขาวิชาเคมี
เน้นด้านเคมีอินทรีย์ เคมีอนินทรีย์ เคมีเชิงฟิสิกส์ เคมีวิเคราะห์ และการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเคมี
สาขาวิชาฟิสิกส์
เน้นทางด้านฟิสิกส์ทุกสาขา
สาขาวิชาชีวิทยา
เน้นทางด้านชีววิทยาของสัตว์และพืช
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
เน้นให้มีความรู้ความสามารถที่จะสอนวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา โดยให้ผู้เรียนเลือกเรียนแนวใดแนวหนึ่งตามความสนใจ ได้แก่ แนวการเกษตร คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์และสถิติ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์หรือวิทยาศาสตร์ทั่วไป
โครงการจัดตั้งภาควิชาพรีคีลนิก
(Department of Preclinic)
ภาควิชาพรีคลินิก เป็นภาควิชาใหม่ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ เป็นโครงการจัดตั้งภาควิชา เพื่อทำหน้าที่ร่วมผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยรองรับการบริหารจัดการทางด้านการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษา ที่เรียนทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิชาพื้นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลิตบัณฑิตระดับสูงกว่าปริญญาตรีทางด้านพรีคลินิก โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ ทักษะในการคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาอย่างมีแบบแผน ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อผลิตบุคลากรสายวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีความรู้ ความสามารถไปประกอบวิชาชีพสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นและเป็นประโยชน์ต่อสังคม นอกจากนั้นยังมีภารกิจในการวิจัยและการบริการวิชาการทางด้านพรีคลีนิก